วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์


                สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ (audio – visual equipments) มีหน้าที่หลักคือการฉายเนื้อหาทั้งที่เป็นภาพและตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่  ขยายเสียงให้ดัง เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พัฒนาไปมากมีรูปลักษณะเล็ก  น้ำหนักเบา แต่สามารถใช้งานได้หลายมิติ เช่น ต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นได้หลายทาง  ผสมผสานกับความก้าวหน้าของสื่อวัสดุที่มีศักยภาพในการบรรจุเนื้อหาข้อมูลได้อย่างวิจิตรพิสดาร โดยมีจุดมุ่ง หมายเพื่อตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกในการรับรู้ของมนุษย์ ดังนั้นการนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดย ครูผู้สอนสามารถศึกษาหลักการและวิธีการใช้ได้ไม่ยากนัก  อย่างไรก็ตามในบทนี้จะนำเสนอเครื่องมือระดับพื้นฐานที่มีใช้อยู่ทั่วไปจนถึงเครื่องอุปกรณ์รุ่นใหม่ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการดำเนินงานต่อไป


            ประเภทของสื่ออุปกรณ์    สื่ออุปกรณ์จำแนกได้เป็น 3 ประเภท  ได้แก่ 
1.             เครื่องฉาย (Projectors)    
2.             เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Connected  Equipment)
3.             เครื่องเสียง (Amplifiers)

เครื่องฉาย

                เครื่องฉายเป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ  กระตุ้นความสนใจได้ดี  เครื่องฉายที่ใช้ในวงการศึกษาปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น  เครื่องฉายข้ามศีรษะ(overhead projector)  เครื่องฉายแอลซีดี (LCD  projector) เครื่องฉายสไลด์ (slide  projector) นอกจากนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายภาพได้หลายรูปแบบ  เช่น  เครื่องวิชวลไลเซอร์ (visualizer )   เป็นต้น

            1.  ส่วนประกอบของเครื่องฉาย

                เครื่องฉายทุกชนิดที่ไม่ใช่เครื่องฉายแปลงสัญญาณ  มีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่  หลอดฉาย   แผ่นสะท้อนแสง   วัสดุฉาย  เลนส์  และจอ
                      1.1   หลอดฉาย (projectors  lamp)
                                1.1.1   ประเภทของหลอดฉาย   หลอดฉายเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์ให้ภาพไปปรากฏบนจอ  หลอดฉายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี  3  ชนิด ได้แก่
                                                            1)    หลอดอินแคนเดสเซนต์  (incandescent  lamp) เป็นหลอดฉายแบบเก่ามีขนาดใหญ่  ภายในหลอดบรรจุด้วยไนโตรเจนหรืออาร์กอน  ไส้หลอดทำด้วยทังสเตน  ให้ความร้อนสูง  อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ  10  ชั่วโมง หลอดชนิดนี้มีใช้อยู่ในเครื่องฉายรุ่นเก่า ๆ เท่านั้น
                                                2)    หลอดฮาโลเจน  (halogen  lamp)  มีขนาดเล็กกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์  ตัวหลอดทำด้วยหินควอร์ท (quartz) ทนความร้อนได้ดี  ภายในหลอดบรรจุด้วยสารฮาโลเจนและไอโอดีน  ให้แสงสว่าง  ขาวนวล  สดใส  อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ  50  ชั่วโมง  หลอดชนิดนี้ใช้กับเครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายภาพยนตร์  ไฟถ่ายวีดิทัศน์  เครื่องฉายข้ามศีรษะ  เป็นต้น
                                                3)   หลอดซีนอนอาร์ค  (zenon  arc  lamp) มีลักษณะเป็นหลอดยาวตรงกลางโป่งออก  ภายในบรรจุด้วยกาซซีนอน  แสงสว่างเกิดจากอนุภาคของไฟฟ้าจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง  ให้แสงสีขาวแรงจัดมาก  หลอดชนิดนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนการอาร์คด้วยแท่งถ่าน  ซึ่งต้องปรับระยะของถ่านชดเชยการสึกกร่อนอยู่ตลอดเวลา  หลอดชนิดนี้ใช้กับการฉายระยะใกล้ ๆ ให้เห็นภาพขนาดใหญ่ ๆ เช่น  เครื่องฉายภาพยนตร์  35  ม.ม.  หรือ  75 ม.ม.  เป็นต้น

1.1.2  ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับหลอดฉาย   การใช้หลอดฉายให้มีอายุการใช้งานนานตามคุณสมบัติเฉพาะของหลอดฉายแต่ละชนิดควรปฏิบัติดังนี้
                                                1)  เมื่อจะสัมผัสหลอดฉายต้องใช้ผ้านุ่ม ๆ รองมือก่อนจับหลอดฉายเสมอ
                                                2)   ตรวจรูปลักษณะ  ขนาด  ฐานหลอด  วัตต์  ให้เหมือนกับหลอดเดิม
                                                3)   ใส่หลอดฉายให้แน่นกระชับ
                                                4)   อย่างให้หลอดฉายกระเทือน
                                                5)   ให้พัดลมเป่าหลอดฉายให้เย็นก่อนถอดปลั๊กไฟทุกครั้ง

                      1.2   แผ่นสะท้อนแสง (reflectors)
                                1.2.1   ลักษณะของแผ่นสะท้อนแสง   แผ่นสะท้อนแสงส่วนมากทำด้วยโลหะฉาบผิวด้วยวัสดุสะท้อนแสง  เช่น  เงินหรือปรอท ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากด้านหลังของหลอดฉายไปรวมกับแสงด้านหน้า  ทำให้ความเข้มข้นของแสงเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ  2  เท่า  ตำแหน่งการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงมีหลายลักษณะต่างกัน  เช่น  ติดตั้งอยู่ภายในหลอด  ติดไว้ภายนอกหลอด  หรือติดเป็นครึ่งวงกลมครอบหลอด  เป็นต้น
 1.2.2   ข้อควรระวังเกี่ยวกับแผ่นสะท้อนแสง
                                1)    อย่าใช้มือจับแผ่นสะท้อนแสง
2)            อย่าให้แผ่นสะท้อนแสงมีรอยขีดข่วน
3)            ต้องใช้ผ้านุ่ม ๆ เช็ดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเมื่อต้องการทำความสะอาด




                      1.3  วัสดุฉาย (Projected  Materials)
                       วัสดุฉายเป็นวัสดุรองรับเนื้อหาความรู้ไว้ในรูปของรูปภาพ ตัวอักษร  และสัญลักษณ์  ต้องใช้ควบคู่กับเครื่องฉายเสมอเพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นได้ชัดเจน  เช่น  ฟิล์มสไลด์  ฟิล์มภาพยนตร์  แผ่นโปร่งใส  รูปภาพทึบแสง  วัสดุฉายมีหลายชนิดดังนี้
                                1.3.1   วัสดุโปร่งใส (transparent  materials)  หมายถึงวัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้โดยไม่เกิดการหักเหหรือสะท้อนภายในวัสดุนั้นเลย  เช่น  แผ่นโปร่งใส  พลาสติกใส  กระจกใส  กระดาษแก้ว  เป็นต้น
                                1.3.2   วัสดุโปร่งแสง (translucent materials) หมายถึงวัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้แต่จะเกิดการสะท้อนหรือหักเหบ้าง  ทำให้ปริมาณของแสงสว่างลดน้อยลง  ตัวอย่างวัสดุประเภทนี้ เช่น  กระจกฝ้า  กระดาษทาน้ำมัน  กระดาษไขเขียนแบบ  เป็นต้น
                                1.3.3   วัสดุทึบแสง (opaque  materials) หมายถึงวัสดุที่แสงไม่สามารถส่องผ่านได้เลย  แสงสว่างที่ตกกระทบจะสะท้อนกลับทั้งหมด  เช่น  กระดาษโรเนียว  แผ่นโลหะ  ไม้  หิน  เสื้อผ้าหนา ๆ  แผ่นหนังสัตว์  ดินเหนียว
 
                     1.4   เลนส์  (Lens)
                                เลนส์เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่วไป  ทำด้วยแก้วหรือพลาสติกใสมีคุณสมบัติหักเหแสงที่สะท้อนมากระทบกับเลนส์ทำให้ภาพถูกขยาย  เลนส์ในเครื่องฉายมี  2  ชุด คือ  เลนส์ควบแสง (condenser  lens) และเลนส์ฉาย (projected  lens)
                                1.4.1   เลนส์ควบแสง  เป็นเลนส์นูนจำนวน 1 2 ตัว  อยู่ระหว่างหลอดฉายกับวัสดุฉาย  ทำหน้าที่เฉลี่ยความเข้มของแสงให้ตกบนวัสดุฉายอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้ภาพที่ปรากฏบนจอทุกส่วนสว่างเท่า ๆ กัน  นอกจากนี้ในชุดของเลนส์ควบแสงยังมีกระจกใสกรองความร้อน (heat  filter) จากหลอดฉายป้องกันไม่ให้วัสดุฉายร้อนมากเกินไป
                                1.4.2  เลนส์ฉาย  เป็นเลนส์นูนที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์ควบแสง  จะอยู่ระหว่างวัสดุฉายกับจอรับภาพ  ทำหน้าที่ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่เต็มจอ  เลนส์ฉายสามารถขยายภาพได้เพราะแสงที่ผ่านเลนส์ฉายหักเหตัดกันที่จุดโฟกัสด้านหน้าของเลนส์แล้วกระจายออกไป  ยิ่งเลนส์ฉายที่มีระยะโฟกัสสั้นแสงจะกระจายได้มาก  จะสามารถขยายภาพได้ใหญ่กว่าเลนส์ที่มีระยะโฟกัสยาว   เลนส์ฉายมีคุณสมบัติพิเศษ  2  ประการคือ  การกลับหัวภาพ  (inversion) และระยะโฟกัส(focus length) ที่จำกัด  กล่าวคือเลนส์ฉายแต่ละตัวจะให้ภาพคมชัดในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น
                ภาพที่ฉายออกมาจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่  ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย 2  อย่าง  คือ ระยะโฟกัสของเลนส์ฉาย  และระยะทางระหว่างเครื่องฉายกับจอ  ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงขนาดของภาพที่ปรากฏจึงทำได้โดยการเปลี่ยนเลนส์ให้มีความยาวโฟกัสที่เหมาะสม  และการเคลื่อนย้ายเครื่องฉายให้เข้าใกล้หรือออกห่างจากจอตามต้องการ

                     1.5  จอ (Screen)
                                1.5.1  ชนิดของจอ   จอเป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่าง ๆ จำแนกได้  2  ชนิดใหญ่ ๆ คือ  จอทึบแสง  และจอโปร่งแสง
                                                1)   จอทึบแสง (opaque screen)  เป็นจอที่รับภาพจากด้านหน้า  จอชนิดนี้จะฉาบผิวหน้าจอด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงต่าง  ๆ กัน ดังนี้
                                                จอพื้นทรายแก้ว (breaded screen) ผิวหน้าของจอฉาบด้วยเม็ดแก้วละเอียด  ทำให้สะท้อนแสงได้ดีมากและไปได้ไกล  แต่มุมสะท้อนแสงแคบประมาณ  40  องศา  จากจุดกึ่งกลางของจอ  จอชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับฉายในห้องแคบ ๆ ยาวเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้ฉายภาพสไลด์และฟิล์มสตริฟได้ดี  จะได้ภาพคมชัด
                                                จอผิวเรียบหรือจอผิวเกลี้ยง (matte screen) ผิวหน้าของจอมีสีขาวเรียบแต่ไม่เป็นมัน ให้แสงสะท้อนปานกลาง  มุมสะท้อนแสงจากจุดกึ่งกลางจอประมาณ  60  องศา กว้างกว่าจอแก้ว  ดังนั้นจอผิวเรียบจึงเหมาะสำหรับฉายในห้องที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือเป็นห้องเรียนทั่ว ๆ ไป  ใช้ได้ดีกับการฉายภาพโปร่งใส  สามารถมองเห็นตัวอักษรได้ชัดเจน
                                                จอเงิน (silver  screen) ทำด้วยพลาสติกหรืออลูมิเนียม มีมุมสะท้อนแสงกว้างประมาณ  70  องศาจากจุดกึ่งกลางจอ  ใช้ในการฉายภาพสีและวัสดุ 3  มิติได้ดี  เหมาะสำหรับโรงภาพยนตร์หรือห้องประชุมขนาดใหญ่ที่ทึบแสง  ใช้ในการฉายภาพยนตร์และสไลด์ได้ดี
                                                จอเลนติคูล่า (lenticular  screen) ผิวจอทำด้วยพลาสติกที่เรียกว่า  เฮฟวี่พลาสติก (heavy  plastic) หรือผ้าสีน้ำเงิน  ผิวเป็นสันนูนและร่องลึกสลับกันทั้งแนวตั้งและแนวนอน  ให้แสงสะท้อนดีมาก  มุมสะท้อนแสงประมาณ  90  องศาขึ้นไป  สามารถใช้ได้ในห้องที่ไม่มืดสนิทมากนัก  จึงเหมาะกับห้องกว้างและขนาดใหญ่  เช่น  ห้องโถง  ห้องประชุมใหญ่ ๆ  เป็นต้น ใช้ในการฉายภาพสไลด์  ฟิล์มสตริฟ  และภาพยนตร์ได้ดี
                                                จอเอ็คต้าไลท์ (ektalite  screen)  ทำด้วยโลหะหรือไฟเบอร์กลาส  น้ำหนักเบา  ผิวโค้ง  สีมุกเป็นมัน  สะท้อนแสงได้ดีมาก สามารถใช้ฉายได้ทั้งภาพยนตร์  สไลด์  ฟิล์มสตริฟ  ใช้ในห้องที่มีแสงสว่างตามปกติได้  แต่ไม่เหมาะกับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะเพราะสะท้อนแสงจ้ามากเกินไป  ผิวจอมีลักษณะโค้งเว้าเล็กน้อย  ไม่สามารถม้วนเก็บได้เหมือนจออื่น ๆ
 2)  จอโปร่งแสง (translucent  screen)  เป็นจอที่ทำจากวัสดุโปร่งแสง เช่น  กระจกฝ้า  กระดาษชุบไข  หรือพลาสติก  การฉายภาพจะแยกจากด้านหลังของจอ  ผู้ชมจะเห็นภาพจากแสงที่ผ่านจอออกมา  ไม่ใช่แสงสะท้อนอย่างจอทึบแสง  ภาพที่ได้จากจอโปร่งแสงจึงเป็นภาพที่สว่างสดใส  สามารถฉายในห้องที่มีแสงสว่างปกติได้  ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า  จอฉายกลางวัน (day light screen) จอโปร่งแสงมี  2  ชนิด คือ
                                               จอฉายสะท้อนกระจกเงา  ลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม  ด้านเป็นจอทำด้วยกระจกฝ้า  พลาสติก  หรืออาซีเตท  เมื่อจะฉายภาพต้องเปิดกล่องด้านข้าง  ด้านในมีกระจกเงาระนาบมุม  45  องศา  ทำหน้าที่สะท้อนภาพจากเครื่องฉายไปปรากฏที่จอ  โดยทั่วไปจอจะมีขนาดประมาณ 50  x  50  นิ้ว  จึงเหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มเล็ก  หรือใช้กับงานนิทรรศการ 
                                                จอฉายภาพผ่านโดยตรง  จอชนิดนี้มีขนาดใหญ่กว่าจอชนิดสะท้อนกระจกเงา  สามารถติดกับฝาผนังที่เจาะเป็นช่องพอดีกับจอได้  การฉายภาพฉายจากด้านหลังของจอ  โดยคุมแสงในห้องฉายให้มืด  ผู้ชมนั่งชมด้านหน้าโดยไม่จำเป็นต้องควบคุมแสงก็ได้

 1.5.2   การติดตั้งจอ   ลักษณะของภาพที่ปรากฏบนจอจะส่งผลต่อการรับรู้และเจตคติของผู้ชม  ดังนั้นการติดตั้งจอให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานควรยึดกฎเกณฑ์ดังนี้
                                1)    ไม่ควรให้แสงสว่างผ่านเข้าด้านหลังจอโดยตรง
2)             ขอบด้านล่างของจอควรอยู่ระดับสายตาของผู้ชม
                                                3)   จอกับเลนส์ควรอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากซึ่งกันและกัน ไม่สูงหรือต่ำ  ไม่เยื้องซ้ายหรือเยื้องขวากับเครื่องฉาย  มิฉะนั้นจะทำให้ภาพบิดเบี้ยวผิดเพี้ยน (keystone  effect)

                                1.5.3   ปัญหาการติดตั้งจอไม่ถูกต้อง   การติดตั้งจอไม่ถูกต้องจะทำให้รูปภาพที่ปรากฏมีลักษณะบิดเบี้ยว  สัดส่วนผิดแปลกธรรมชาติที่เป็นจริง  อาจทำให้ผู้เรียนหรือผู้ชมเข้าใจผิดได้  ผลของการติดตั้งจอไม่ถูกต้องจะมีลักษณะดังนี้

- การติดตั้งจอให้สูงกว่าเครื่องฉาย  จะทำให้ภาพที่ปรากฏบนจอบิดเบี้ยวมีลักษณะด้านบนใหญ่กว่าด้านล่าง 
- การติดตั้งจอให้ต่ำกว่าเครื่องฉาย  จะทำให้ภาพที่ปรากฏบนจอบิดเบี้ยว  มีลักษณะด้านบนเล็กกว่าด้านล่าง  
- การติดตั้งจอให้เยื้องไปทางขวาของจอ  ทำให้ภาพที่ปรากฏบนจอบิดเบี้ยว มีลักษณะด้านขวาจะใหญ่กว่าด้านซ้าย
- การติดตั้งจอให้เยื้องไปทางซ้ายของจอ  ทำให้ภาพที่ปรากฏบนจอบิดเบี้ยว มีลักษณะด้านขวาเล็กกว่าด้านซ้าย
1.5.4   การแก้ไขภาพบิดเบี้ยว    ภาพบิดเบี้ยวที่ปรากฏบนจอจะส่งผลต่อการรับรู้ของผู้เรียนหรือผู้ชม  การแก้ไขภาพบิดเบี้ยทำได้โดยการตั้งจอและเครื่องฉายให้อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากซึ่งกันและกันโดยวิธีใดก็ได้  เช่น  การยกเครื่องฉายให้สูงขึ้น  หรือ  การงุ้มจอลงให้ตั้งฉากกับเครื่องฉาย     เป็นต้น

2.   ตัวอย่างเครื่องฉาย
                       2.1   เครื่องฉายข้ามศีรษะ

                เครื่องฉายข้ามศีรษะเป็นเครื่องมือที่ใช้กับการเรียนการสอนมาเป็นเวลานานมีหลายรูปแบบ  ปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่อย่างแพร่หลายในสถานศึกษาทั่วไป
2.1.1 ส่วนประกอบของเครื่องฉายข้ามศีรษะ  เครื่องฉายข้ามศีรษะมีส่วน ประกอบ ที่สำคัญ 2 ส่วน  ได้แก่ ส่วนประกอบภายใน  และส่วนประกอบภายนอก 
                                                 1)   ส่วนประกอบภายนอก  ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ
                                                ตัวเครื่องฉาย มีลักษณะเป็นกล่องทำด้วยโลหะ   ด้านบนเป็นแผ่นกระจกสำหรับวางวัสดุฉาย  มุมด้านขวามือมีเสาสำหรับติดตั้งหัวฉาย  ด้านข้างมีแกนยึดแผ่นโปร่งใสแบบม้วน  ด้านหลังมีสายไฟและสวิตช์ควบคุมการทำงาน
                                                แขนเครื่องฉายและหัวฉาย  เป็นเสาประกบติดกับเครื่องฉาย  มีไว้สำหรับยึดหัวฉายซึ่งสามารถเลื่อนขึ้นลงได้ด้วยปุ่มหมุนที่มีแกนเป็นเฟืองบังคับติดกับหัวฉาย ทำให้ปรับความ คมชัดได้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน
                                                อุปกรณ์การฉายพิเศษ ใช้กับเทคนิคการนำเสนอแผ่นโปร่งใสแบบวัตถุเคลื่อนไหว  หรือที่เรียกว่า  โพลาไรซิ่ง  ทรานส์พาเรนซี่  (polarizing  transparency) ประกอบด้วยมอเตอร์ขับเคลื่อนแผ่นโพลาไร  ฟิลเตอร์ ซึ่งเป็นแผ่นพลาสติกบาง ๆ มีคุณสมบัติทำให้แสงหักเหได้  เมื่อมีการหมุนให้ตัดกับแสงจากแผ่นโปร่งใสที่กำลังฉาย ทำให้ดูเป็นภาพเคลื่อนไหว
                                                แท่นวางวัสดุฉาย  เป็นแผ่นกระจกวางในระนาบแนวนอนอยู่เหนือเลนส์ควบแสงหรือเลนส์เกลี่ยแสงซึ่งอยู่ภายในเครื่องฉาย แท่นวางวัสดุฉายสามารถวางได้ทั้งแผ่นโปร่งใสและวัสดุทึบแสงทุกชนิดที่มีขนาดใหญ่ไม่เกินขนาดของแท่นนี้
                                                 เลนส์ฉาย  เป็นเลนส์นูนที่อยู่ในหัวฉาย  ทำหน้าที่ขยายภาพ  ตัวอักษร หรือวัสดุฉายอื่น ๆ ให้มีขนาดใหญ่ไปปรากฏที่จอ
                                                กระจกเงาระนาบ  เป็นกระจกเงาทำมุมเอียง   45 ° ติดตั้งไว้ในหัวฉาย ทำหน้าที่รับภาพจากเลนส์เกลี่ยแสง  สะท้อนเป็นมุม 90° ผ่านเลนส์ฉายตรงไปที่จอ

2)   ส่วนประกอบภายใน  ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
                                                หลอดฉาย  เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ติดตั้งไว้ภายในเครื่องฉาย  โดยทั่วไปมักเป็นหลอดฮาโลเจน 220 v. 650 w.  หรือหลอดคว้อตไอโอดีน  24 v.  250 w.
                                                แผ่นสะท้อนแสง  ทำหน้าที่หักเหและสะท้อนแสงที่ออกทางด้านหลังของหลอดฉายให้กลับไปด้านหน้า  ทำให้แสงมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น
                                                เลนส์เกลี่ยแสง  เป็นกระจกหรือพลาสติกใสมีร่องขนาดเล็กเต็มทั่วทั้งแผ่น  เพื่อเกลี่ยแสงให้มีความสว่างสม่ำเสมอก่อนสะท้อนไปที่เลนส์ฉายต่อไป
                                                กระจกเงาสะท้อนแสง  เป็นกระจกเงาติดตั้งไว้ภายในเครื่องฉาย  ทำมุม  45 ° เพื่อรับแสงจากหลอดฉายแล้วสะท้อนเป็นมุม 90° ไปที่เลนส์เกลี่ยแสงและวัสดุฉาย
                                                พัดลม  ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับหลอดฉาย บางเครื่องมีสวิตช์ปิด เปิดโดยเฉพาะ  บางเครื่องมีสวิตช์อัตโนมัติ  เรียกว่า  เทอร์โมสตัท (thermostat)

                                2.1.2   หลักในการเลือกเครื่องฉายข้ามศีรษะ   การเลือกซื้อเครื่องฉายข้ามศีรษะให้คุ้มค่าในการใช้งานควรมีหลักการเลือกดังนี้
                                                1)   มีกำลังส่องสว่างสูง  สามารถปรับเปลี่ยนหลอดได้สะดวกและรวดเร็ว
                                                2)   ขนาดของเลนส์เหมาะสมกับขนาดของห้องฉาย
                                                3)   ให้ภาพคมชัด  ไม่พร่ามัว  ขณะฉายภาพขึ้นจอ
                                                4)   สะดวกในการบำรุงรักษาและซ่อมแซม  อะไหล่หาได้ง่าย  ราคาถูก
                                                5)   เครื่องเดินเงียบสม่ำเสมอ  ไม่มีเสียงรบกวนจากพัดลม
                                                6)   มีความแข็งแรงทนทาน  น้ำหนักเบา  เคลื่อนย้ายง่าย

                                2.1.3    ขั้นตอนการใช้เครื่องฉายข้ามศีรษะ   การใช้เครื่องฉายข้ามศีรษะให้ได้ผลดีกระบวนการเรียนการสอนควรมีขั้นตอนดังนี้
                                                1)   เตรียมแผ่นโปร่งใสที่จะใช้ให้พร้อม  โดยเรียนตามลำดับก่อนหลัง
                                                2)   ตั้งจอและเครื่องฉายให้มั่นคง  ให้ตำแหน่งของเลนส์ตั้งฉากกับจอ
                                                3)   ทำความสะอาดแท่นวางแผ่นใส   เลนส์ฉาย  แล้วเสียบปลั๊ก
                                                4)   ทดลองฉายโดยการเปิดสวิตช์  วางวัสดุทึบแสงแล้วปรับคมชัด
                                                5)   ปิดข้อความที่ยังบรรยายไม่ถึงและค่อย ๆ เปิดเมื่ออธิบายถึงเนื้อหานั้น
                                                6)    การชี้ข้อความควรใช้วัสดุทึบแสงขนาดเล็ก ๆ ไม่ควรใช้นิ้วมือชี้
                                                7)    เมื่อจะเปลี่ยนหลอดฉายต้องปิดเครื่องฉายก่อนทุกครั้ง
                                                8) หลังการใช้งานควรปิดหลอดฉายก่อนแล้วปล่อยให้พัดลมทำงาน จน กว่าเครื่องจะเย็นลงจึงเก็บเครื่องฉายให้เรียบร้อย

                                2.1.4   ข้อควรระวังในการใช้และการเก็บรักษาเครื่องฉายข้ามศีรษะ  การใช้และการเก็บรักษาเครื่องฉายข้ามศีรษะให้มีอายุการใช้งานยาวนาน  ควรมีวิธีดังนี้
                                                1)  ไม่ควรใช้เครื่องฉายติดต่อกันเป็นเวลานาน  ๆ ควรปิดหลอดฉายสลับ กันเป็นระยะ ๆ ขณะใช้ประกอบการอธิบาย
                                                2)  เมื่อจะเคลื่อนย้ายเครื่องฉายต้องปิดหลอดฉายก่อน และรอให้หลอดฉายเย็นจึงจะเคลื่อน ย้ายเครื่องฉายได้อย่างปลอดภัย
                                                3)  ถ้ามีฝุ่นละอองจับเลนส์หรือกระจกเงาสะท้อนแสง  ควรใช้กระดาษเช็ดเลนส์หรือหนังชามัวร์เช็ดทำความสะอาด  แต่ไม่ควรทำบ่อยนัก
                                                4)   การเปลี่ยนหลอดฉาย  ห้ามใช้มือจับกระเปาะหลอดแก้ว  ควรใช้ผ้านุ่ม ๆ สะอาดรองมือแล้วจึงทำการเปลี่ยน  และต้องใส่ขั้นถูกต้องด้วย
                                                5)  ไม่ควรให้สายไฟฟ้าด้านใดด้านหนึ่งของเครื่องฉายเปียกน้ำ เพราะอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้

                       2.2   เครื่องฉายสไลด์

                                  เครื่องฉายสไลด์เป็นทัศนูปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้มาเป็นเวลานาน  ปัจจุบันแม้จะมีเครื่องฉายระบบดิจิตัลเข้ามาแทนที่แต่เครื่องฉายสไลด์ก็บังใช้กันอยู่ในสถานศึกษาทั่วไป
               
                                2.2.1  ประเภทของเครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายสไลด์มี 2 ประเภท ได้แก่
เครื่องฉายสไลด์แบบฉายทีละภาพ  และเครื่องฉายสไลด์แบบบรรจุภาพใส่ถาด
                                                1)   เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา (manual slide projector)   เป็นเครื่องฉายสไลด์ที่อาศัยการทำงานด้วยการควบคุมจากผู้ใช้งานตลอดเวลา  มีทั้งเครื่องขนาดเล็กและเครื่องขนาดมาตรฐานทั่วไป  เครื่องขนาดเล็กบางเครื่องมีจอดูภาพ (viewer) อยู่ในตัวเครื่อง  เหมาะสำหรับดูเพียงคนเดียว  ถาดใส่ภาพสไลด์สำหรับเครื่องธรรมดามีทั้งแบบถาดกลมและถาดเหลี่ยม  ส่วนแบบกลมมีทั้งแบบวางแนวราบและวางแนวตั้งตะแคง
                                                2)   เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ (automatic slide projector)   เป็นเครื่องฉายภาพสไลด์ที่ออกแบบให้ทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับเครื่องบันทึกเสียงแบบสัมพันธ์ภาพและเสียงหรือเครื่องควบคุมการฉายได้  ถาดใส่สไลด์สำหรับเครื่อง แบบอัตโนมัติจะเป็นแบบถาดกลมและวางในแนวราบทั้งสิ้น

                                2.2.2   ส่วนประกอบของเครื่องฉายสไลด์   เครื่องฉายสไลด์มีส่วน ประกอบที่สำคัญ  2  ส่วน ได้แก่  ส่วนประกอบภายนอก  และส่วนประกอบภายใน
                                                1)    ส่วนประกอบภายนอก  ได้แก่  ตัวเครื่องฉาย  ร่องใส่ถาดสไลด์   ปุ่มสวิตช์ปิด เปิด   ช่องเสียบสายไฟ   ช่องใส่เลนส์
                                                2)   ส่วนประกอบภายใน  ได้แก่  หลอดฉาย   แผ่นสะท้อนแสง   เลนส์รวมแสง   เลนส์ฉาย  พัดลม   สะพานไฟ   

                                2.2.3   ประเภทของถาดบรรจุภาพสไลด์    ถาดใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละชนิดจะถูกออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องฉายโดยเฉพาะดังนี้

ถาดสไลด์แบบเป็นราง  ( single slide carrier )ใส่ภาพสไลด์ได้ที่ละไม่เกิน  2  ภาพ  การเปลี่ยนภาพต้องใช้วิธีดึงรางไปมาในทิศทางซ้าย ขวา  รางแบบนี้ใช้กับเครื่องแบบเก่าซึ่งเป็นเครื่องขนาดเล็ก

ถาดสไลด์แบบรางแถวในกล่องสี่เหลี่ยม  ( rectangular  tray ) มีลักษณะคล้ายแถวขนมปัง  บรรจุสไลด์ได้ครั้งละ  24 36  ภาพ  หรือมากกว่า  การฉายต้องใส่รางเข้ากับด้านข้างของเครื่องฉาย   รางแบบนี้สามารถบังคับให้เคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้

ถาดสไลด์แบบกลม ( rotary  tray ) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด  สามารถบรรจุภาพสไลด์ได้ตั้งแต่ 80 140 ภาพ มีทั้งแบบวางเข้ากับเครื่องในแนวนอนด้านบนของเครื่องและวางแนวตั้งกับด้านข้างของเครื่อง  ถาดสไลด์แบบนี้สามารถหมุนได้รอบตัว

2.2.4    หลักการใช้เครื่องฉายสไลด์   การใช้เครื่องฉายสไลด์ให้ได้ดีมีผลต่อการรับรู้และเรียนรู้ของผู้เรียนหรือผู้ชมควรมีหลักการดังนี้
                                                1)    ก่อนใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้เครื่องให้เข้าใจ
                                                2)    เตรียมห้องฉาย  เครื่องฉาย  และจอให้เรียบร้อย
                                                3)   วางถาดสไลด์กับเครื่องฉายให้ถูกต้อง
                                                4)   เสียบปลั๊กไฟ   เปิดสวิตช์พัดลม  และสวิตช์ไฟ  
                                                5)   กดปุ่มเดนหน้าภาพที่ 1  เพื่อปรับความคมชัด
                                                6)   ฉายภาพตามเนื้อหาพร้อมอธิบายประกอบ
                                                7)   เมื่อจบแล้วปิดสวิตช์แสงปล่อยให้พัดลมเป่าให้เครื่องเย็น
                                                8)   เก็บสายไฟ  ปรับเลนส์ให้เข้าที่แล้วเก็บเครื่องฉาย

                                2.2.5   หลักการดูแลรักษาเครื่องฉายสไลด์   การดูแลเครื่องฉายสไลด์ให้มีอายุการใช้งานได้นานและมีประสิทธิภาพในการใช้งานอยู่เสมอ  ควรมีหลักการดูแลรักษาดังนี้
                                                1)   ใช้ให้ถูกขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วอย่างเคร่งครัด
                                                2)   ไม่เคลื่อนย้ายเครื่องขณะหลอดฉายกำลังร้อน
                                                3)   ควรเก็บเครื่องฉายในที่ที่มีอุณภูมิต่ำและไม่มีฝุ่นละออง
                                                4)   ในกรณีเครื่องใหม่ต้องศึกษาคู่มือการใช้ให้เข้าใจ
                                                5)   ถ้าเครื่องชำรุดควรให้ช่างผู้ชำนาญการซ่อม
                                                6)   อย่าให้เครื่องตกหรือกระทบกระแทกเด็ดขาด
                                                7)   การเปลี่ยนหลอดฉายห้ามใช้มือจับหลอดฉายเด็ดขาด

                       2.3   เครื่องฉายแอลซีดี

                               เครื่องฉายแอลซีดี (LCD : Liquid  Crystal  Display)   เป็นเครื่องฉายที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้มากเครื่องหนึ่ง  มีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อยโดยการใช้คริสทัลโมเลกุลอัดอยู่กลางระหว่างแผ่นกระจก  โมเลกุลเหล่านี้จะมีการจัด เรียงตัวใหม่ในลักษณะทึบแสงเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ทำให้มองเห็นเป็นภาพหรือตัวอักขระได้  เครื่องแอลซีดีใช้ในการฉายหรือถ่ายทอดสัญญาณเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องวิชวลไลเซอร์  เครื่องเล่นวีดิทัศน์  หรือเครื่องเล่นวีซีดี  เพื่อแสดงภาพจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นฉายไปที่จอให้เป็นภาพขนาดใหญ่  ปัจจุบันเครื่องแอลซีดีมีขนาดเล็กลงมาก  น้ำหนักเบา  แต่มีความละเอียดและแสงสว่างมากขึ้น  ราคาถูกลงกว่าเดิมมาก   

       2.4   เครื่องดีแอลพี 


                                กิดานันท์  มลิทอง ( 2545  หน้า  198 ) ได้อธิบายถึงเครื่องดีแอลพีว่า  เครื่องดีแอลพี(DLP : Digital Light Processing)  เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณระบบดิจิทัลในลักษณะเดียวกับเครื่องแอลซีดีแต่มีความคมชัดสูงกว่า  โดยให้ความคมชัดมากถึง 1,280 X 1,024 จุด  ในขณะที่เครื่องแอลซีดีจะให้ความคมชัดได้สูงสุดเพียง 1,024 X 768 จุด เท่านั้น
                                เครื่องดีแอลพีเป็นเทคโนโลยีของบริษัท  เท็กซัส  อินสทรูเมนตส์ (Texas Instruments)  ที่พัฒนาขึ้นสำหรับเครื่องวิดีโอโพรเจ็กเตอร์  เพื่อแก้ปัญหาเรื่องสีเหลื่อมและเพิ่มสมรรถนะการฉายภาพให้สดใสคมชัดของสื่อระบบดิจิทัล  เช่น  เครื่องเล่นดีวีดี  คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยมีระบบการทำงานดังนี้
                                2.3.1   กระบวนการ  เครื่องดีแอลพีจะใช้โพรเซสเซอร์ เป็นตัวอ่านข้อมูลและแปลเป็นสายธารบิตระบบดิจิทัล (digital bit stream)  เพื่อให้อุปกรณ์ดิจิทัลซึ่งประกอบด้วยกระจกขนาดจิ่ว (Digital Micro mirror Device)  หรือเรียกอย่างย่อว่า “DMD” แปรข้อมูลเหล่านั้น
                                2.3.2   การสะท้อน DMD  หรืออุปกรณ์กระจกขนาดจิ๋วดิจิทัลนี้นับว่าเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญของเทคโนโลยีดีแอลพี  อุปกรณ์แต่ละชิ้นจะประกอบด้วยกระจกชิ้นเล็กจิ๋วที่ตาเปล่ามองไม่เห็นจำนวนถึง  750,000  ชิ้นเพื่อใช้ในการสร้างภาพระบบดิจิทัล  โดยกระจกแต่ละชิ้นจะแสดงผล 1 จุดภาพ  กระจกขนาดจิ๋วเหล่านี้จะสวิตซ์เปิดและปิดมากกว่า  50,000  ครั้งต่อวินาทีขึ้นอยู่กับทิศทางจากการอ่านรหัสภาพ  ลำแสงจะสะท้อนภาพสเกลสีเทาปิดผลหน้าของกระจก
                                2.3.3  สี กระบวนการกรองสีโดยการขับความบริสุทธิ์ของสีของภาพที่ฉายนับว่าเป็นหนึ่งเดียวของเทคโนโลยีดีแอลพี  ซึ่งภาพที่ฉายบนจอภาพแลดูสดใสมีชีวิตชีวาเหมือนภาพจริงทุกประการ
                                2.3.4  การฉายภาพระบบดิจิทัลที่สะท้อนจากกระจกแผ่นจิ๋วจะผ่านเลนส์เครื่องฉายไปยังพื้นผิวใด ๆ ก็ได้เพื่อใช้เป็นจอฉายด้วยความใสสว่าง  ไม่ว่าจะเป็นกำแพงอิฐหรือจอแบบรอบตัว 360 ทั้งนี้เนื่องจากจะมีแสงที่สะท้อนจากกระจกเท่านั้นที่ผ่านเลนส์ตรงไปยังจอภาพ  ในขณะที่แสงส่วนเกินจะถูกดูดซับออกไป
                DMD ซึ่งเป็นอุปกรณ์ดิจิทัลประกอบด้วยกระจกขนาดเล็กจิ๋วจำนวนมากจะแปรข้อมูลที่อ่านจากโพรเซสเซอร์แล้วสะท้อนเพื่อสร้างภาพโดยผ่านกระบวนการกรองสีส่งไปยังเลนส์ฉายส่วนประกอบของเครื่องดีแอลพี

เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ

                โสตทัศนูปกรณ์บางชนิดไม่สามารถใช้งานได้ด้วยตัวมันเอง เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์  เครื่องเล่นวีดิทัศน์  เครื่องเล่นดีวีดี  เป็นต้น เครื่องเหล่านี้จำเป็นต้องต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์เครื่องฉายต่าง ๆ  หรือ เครื่องขยายเสียง  จึงจะช่วยให้สื่อความหมายได้ชัดเจน   เป็นต้น 

            1.   เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer หรือ Visual  Presenter)

                เครื่องวิชวลไลเซอร์    เป็นเครื่องฉายแปลงสัญญาณที่ฉายได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว  โดยการต่อเครื่องวิชวลไลเซอร์กับเครื่องมอนิเตอร์เพื่อแสดงภาพทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออาจต่อร่วมกับเครื่องฉายแอลซีดี ( LCD projector) เพื่อฉายสัญญาณภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ  หลักการทำงานของเครื่องวิชวลไลเซอร์คือการแปลงสัญญาณภาพของวัตถุเป็นสัญญาณไฟฟ้า ก่อน ที่จะแปลงกลับเป็นสัญญาณภาพอีกครั้งหนึ่ง  การฉายภาพนิ่งสามารถฉายได้ทั้งภาพทึบแสง  ภาพโปร่งแสง และภาพจากวัสดุ 3 มิติ โดยการวางวัสดุที่ต้องฉายลงบนแท่นฉายเพื่อให้กล้องที่อยู่เหนือแท่นฉายจับภาพวัสดุดังกล่าวแล้วฉายออกไปที่จอ  เครื่องวิชวลไลเซอร์มีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ ดังนี้


1.1    ส่วนประกอบของเครื่องวิชวลไลเซอร์
                               เครื่องวิชวลไลเซอร์มีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้

1.2   การติดตั้งเครื่องวิชวลไลเซอร์
                               การติดตั้งเครื่องวิชวลไลเซอร์มีขั้นตอนดังนี้
1.3   การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์

              เครื่องวิชวลไลเซอร์สามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้หลายชนิด เช่น มอนิเตอร์  เครื่องฉาย LCD เป็นต้น  แต่ก่อนที่จะต่อสายจากเครื่องวิชวลไลเซอร์เข้ากับเครื่องอื่น ๆ ต้องตรวจสอบให้อุปกรณ์ทั้งหมดปิดสวิตซ์อยู่เสมอ
                1.3.1   การต่อเข้าจอมอนิเตอร์  ให้ใช้สาย RCA video  audio  หรือสาย BNC ต่อจากช่อง Video Output  ทั้ง ช่องของเครื่องวิชวลไลเซอร์
                1.3.2  การต่อเข้าจอมอนิเตอร์  ถ้าจะใช้สาย S-video  แทนสาย  RCA video / audio  ให้ใช้สาย S-video  ต่อจากช่อง S-video  out  ของเครื่องวิชวลไลเซอร์ไปยังช่อง  S-video in  ของจอมอนิเตอร์
                1.3.3  การต่อเข้าเครื่องแอลซีดี  ให้ต่อสาย  BNC  จากช่อง RGB Output  ของเครื่องวิชวลไลเซอร์ ไปยังช่อง RGB Input ของเครื่องแอลซีดี

                       1.4   การฉายวัสดุทึบแสง

                              การฉายวัสดุทึบแสงมีขั้นตอนดังนี้
                1.4.1  วางวัสดุทึบแสงบนแท่นฉายแล้วเปิดสวิตช์
                1.4.2   ปรับขนาดภาพโดยใช้ปุ่ม  Tele หรือ Wide
                1.4.3   กดปุ่มโฟกัสอัตโนมัติ (Auto  Focus)

1.5        การฉายวัสดุโปร่งแสง


               การฉายวัสดุโปร่งใสและวัสดุกึ่งโปร่งแสงมีขั้นตอนดังนี้
                                1.5.1   วางวัสดุโปร่งใส  ลงบนแท่นฉาย  แล้วกดปุ่ม Base  ไฟที่ปุ่ม  Base  จะกระพริบขึ้น  และจะมีแสงไฟที่แท่นฉายส่องขึ้นมา
                1.5.2    กดปุ่ม  Posi / Nega
                1.5.3    การปิดไฟแท่นฉาย  ให้กดปุ่ม  Base ไฟที่กะพริบจะดับลง

                        1.6   การใช้กล้องถ่ายภาพ

                            การใช้กล้องถ่ายภาพวัตถุหรือความเคลื่อนไหวภายในห้องในลักษณะโทรทัศน์วงจรปิด โดยการจัดกล้องให้อยู่ในแนวขนานกับแท่นฉายแล้วยกฝาครอบเลนส์ถ่ายใกล้ขึ้น  เลนส์ที่กล้องจะสามารถโฟกัสภาพได้ในระยะตั้งแต่  1.1  เมตรจนถึงระยะไกลสุดในห้องนั้น

                       1.7   การเก็บรักษา 

              เมื่อสิ้นสุดการใช้งานแล้วให้ปิดสวิตซ์เครื่องและถอดสายต่าง ๆ ที่ต่อกับจอ มอนิเตอร์หรือเครื่องแอลซีดีออกให้เรียบร้อยก่อน  ถอดปลั๊กไฟและสายวิดีโอ  แล้วเก็บเครื่องดังนี้
                1.7.1   หมุนหัวของกล้องหลักให้มีลักษณะกลับลงดังภาพ
                1.7.2   กดปุ่มปลดล็อกเสากล้องและพับเสาลง
                1.7.3  พับแขนเสาไฟส่องลงทั้งสองด้าน  โดยต้องพับแขนของไฟดวงแรกก่อนดัง

                       1.8   ข้อดีและข้อจำกัด

                               การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์ในการสอนมีข้อดีและข้อจำกัด   ดังนี้
                                1.8.1   ข้อดี
                                                1)   ใช้ในการฉายวัสดุได้ทั้งวัสดุทึบแสง  วัสดุ 3 มิติ   และวัสดุโปร่งใส
                                                2)   ใช้กล้องเป็นโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการสาธิตภายในห้องเรียนได้
                                                3)    สามารถขยายภาพและข้อความจากสิ่งพิมพ์ให้อ่านได้อย่างทั่วถึง
2)            สามารถใช้กล้องตัวรองเป็นกล้องวีดิทัศน์เคลื่อนที่ได้
                                1.8.2   ข้อจำกัด
                                1)   เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูง  ไม่เหมาะกับสถานศึกษาที่มีงบประมาณน้อย
2)            การติดตั้งต้องใช้พ่วงกับเครื่องฉายอื่น ๆ จึงจะเสนอภาพได้
3)            ต้องใช้ความระมัดระวังในการติดตั้งและการเก็บเครื่องอย่างดี

 

            2.  เครื่องเล่นวีดิทัศน์ (Video  Player)


                      เครื่องเล่นวีดิทัศน์หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เครื่องเล่นวิดีโอ หรือ เครื่องเล่นเทปโทรทัศน์เป็นเครื่องแปลงสัญญาณแม่เหล็กจากแถบเทปเป็นสัญญาณภาพและเสียง ถ่ายทอดออกทางจอโทร ทัศน์หรือผ่านเครื่องเล่นแอลซีดี  เพื่อฉายภาพบนจอให้เป็นภาพขนาดใหญ่ขึ้น

                       2.1   ประเภทของเครื่องเล่นวีดิทัศน์

                               เครื่องเล่นวีดิทัศน์แบ่งออกเป็น  5   ประเภท  ได้แก่
                                2.1.1   แบบ  U-Matic หรือ  U-Vision  เป็นเครื่องเล่นระดับกึ่งมืออาชีพ  หรือใช้ในระดับสถาบันการศึกษาและในสถานีโทรทัศน์  แถบเทปประเภทนี้มีขนาดความกว้างตั้งแต่ ¾ นิ้ว ไปจนถึง  1 ½  นิ้ว  บรรจุอยู่ในตลับเทป  สามารถเล่นได้นาน  30  นาที  และ  60  นาที
                                2.1.2   แบบ  VHS (Video Home System)  เป็นเทปที่ใช้กับเครื่องเล่นตามบ้าน  แถบเทปมีความกว้าง  ½  นิ้ว  ราคาถูก บรรจุอยู่ในตลับเทปที่สามารถเล่นได้นาน 30,60,120 หรือ180 นาที 
                2.1.3   แบบ  Betacam เป็นรูปแบบเฉพาะของบริษัทโซนี  เป็นชนิดที่ออกแบบมาใช้ตามบ้านเช่นกันแต่มีขนาดตลับเล็กกว่าแบบVHSเล็กน้อย  นอกจากนี้ยังใช้ในสถานีโทรทัศน์ด้วย

                2.1.4   แบบ DV  (Digital  Video) เป็นการบันทึกภาพและเสียงด้วยระบบดิจิตัลที่มีความคมชัดเหมือนต้นฉบับ เพราะไม่มีการสูญเสียสัญญาณระหว่างการบันทึกและตัดต่อ โดยการใช้สายฟายวาย ซึ่งเป็นสายเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณดิจิตัลกับดิจิตัลโดยตรง ปัจจุบันระบบดีวีกำลังได้รับความนิยมสูง  บริษัทผู้ผลิตได้ทำการผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหลายรูปแบบและหลายระดับคุณภาพในการใช้งาน

              2.1.5   แบบ Mini  DV  เป็นระบบการบันทึกและเล่นภาพและเสียงด้วยระบบดิจิทัลเหมือนกับแบบ DV ในข้อ 2.1.4  แต่มีขนาดเล็กกว่า  ราคาถูกกว่า  ใช้กับกล้องดิจิทัลขนาดเล็กที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 

        2.2   การติดตั้ง

               เครื่องเล่นวีดิทัศน์สามารถติดตั้งเพื่อฉายภาพกับอุปกรณ์  ประเภท ได้แก่
                2.2.1เครื่องรับโทรทัศน์ธรรมดา (TV Receiver)  ที่ใช้กันตามบ้าน  โดยการต่อสาย video  out  และ  audio  out  จากเครื่องเล่นวีดิทัศน์ไปยังช่อง  video  in  และ audio  in  ของเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อฉายภาพและเสียงจากแถบเทปที่บันทึกไว้   หากต้องบันทึกรายการโทรทัศน์จากเครื่อง รับโทรทัศน์ต้องต่อขั้วสายอากาศเข้าที่ช่องสายอากาศของเครื่องเล่นวีดิทัศน์และต่อสาย video  out  และ  audio  out ของเครื่องเล่นวีดิทัศน์ไปยังช่อง video in  และ  audio  in ของเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อบันทึกภาพและเสียงจากโทรทัศน์ลงแถบเทป
                2.2.2  จอมอนิเตอร์  (Monitor)  เป็นเครื่องที่ออกแบบมาเพื่อรับสัญญาณจากสายโดยตรง  โดยมีสายสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงอย่างละ  สาย  ซึ่งสามารถต่อออกจากภาคสัญญาณออกจากเครื่องเล่นวีดิทัศน์เข้าสู่ภาคสัญญาณเข้าของมอนิเตอร์
                2.2.3  เครื่องโทรทัศน์และมอนิเตอร์ (Receiver/ Monitor)  เป็นเครื่องที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานในลักษณะเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์  การต่อสายสัญญาณเข้าสามารถเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งก็ได้

       2.3   การฉาย

              การฉายเทประบบ  VHS  ด้วยเครื่องโทรทัศน์มีขั้นตอนดังนี้
                2.3.1   หลังจากต่อสายกับเครื่องรับโทรทัศน์แล้วให้เปิดสวิตซ์เครื่องเล่นวีดิทัศน์
                2.3.2   สอดตลับเทปเข้าในช่องใส่ตลับเทป
                2.3.3   กดปุ่ม Play และเปิดสวิตซ์เครื่องโทรทัศน์
        2.3.4 ถ้าต้องการค้นหาภาพที่ต้องการ  ให้กดปุ่ม  FF (Forward)  เพื่อเดินเทปล่วงหน้า หรือ  กดปุ่ม REW (Rewind)  เพื่อถอยหลังเทป
                2.3.5   ปรับแต่งเสียงและภาพที่เครื่องรับโทรทัศน์ให้เหมาะสมตามต้องการ
                       2.4   ข้อดีและข้อจำกัด
                               การใช้เครื่องเล่นวีดิทัศน์ในการเรียนการสอนมีข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้
                                2.4.1   ข้อดี
                                1)   สะดวกในการใช้และการเก็บรักษาทั้งเครื่องเล่นวีดิทัศน์และตลับเทป
                                2)   สามารถดูภาพช้า-ภาพเร็ว  และเดินหน้า-ถอยหลังเทปเพื่อดูซ้ำใหม่ได้
                                3)   สามารถบันทึกเนื้อหาใหม่ลงแถบเทปเดิมได้หลายครั้ง
                                4)   สามารถใช้ในห้องที่มีแสงสว่างได้
                                                5) เครื่องเล่นวีดิทัศน์และตลับเทปมีราคาไม่สูงมากนัก ทำให้สะดวกในการบันทึก เนื้อหาความรู้เพื่อนำมาใช้กับการสอน
                                2.4.2   ข้อจำกัด
                                1)    ขนาดของภาพที่ปรากฏบนจอมีขนาดเล็ก
                                2)    คุณภาพของเสียงอาจไม่ดีนัก
                                3)    ตัวอักษรขนาดเล็กไม่ค่อยคมชัดถ้าฉายบนจอขนาดเล็ก
                                4)   ภาพอาจไม่คมชัดเท่าที่ควร  และหากเป็นรายการที่บันทึกมาจากเทปตลับอื่นก็จะยิ่งให้ภาพที่คุณภาพด้อยลงกว่าเดิม
  3.  เครื่องเล่นวีซีดี (VCD : Video Compact Disc) 
                เครื่องเล่นวีซีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นซีดีระบบดิจิทัลที่บันทึกข้อมูลในลักษณะภาพนิ่ง  ภาพ เคลื่อนไหว และเสียงแบบวีดิทัศน์  เพื่อเสนอภาพจอโทรทัศน์  เครื่องเล่นวีซีดีนอกจากจะเล่นแผ่นวีซีดีแล้วยังสามารถเล่นแผ่นซีดีเพลงที่มีเฉพาะเสียงได้ด้วย  เครื่องเล่นชนิดนี้ส่วนมากจะเล่นแผ่นวีซีดีได้ติดต่อกันตั้งแต่ 1-4 แผ่น  ทั้งนี้เพื่อให้สามารถชมภาพยนตร์ได้ติดต่อกันตลอดเรื่องโดยไม่ต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนแผ่นใหม่

3.1   ข้อดีและข้อจำกัด

              เครื่องเล่นวีซีดีมีข้อดีและข้อจำกัด  ดังนี้
                3.1.1   ข้อดี
                                1)   คุณภาพของภาพบนแผ่นวีซีดีให้ความคมชัดภาพจากแถบวีดิทัศน์
                                2)   ไม่มีการยืดเหมือนแถบวีดิทัศน์
                                3)   เครื่องเล่นวีซีดีสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดีและวีซีดี
                                4)   ทำความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น

                3.1.2   ข้อจำกัด
                การบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นทำได้ไม่สะดอกเหมือนการบันทึกลงแถบวีดิทัศน์

            4.  เครื่องเล่นดีวีดี

เครื่องเล่นดีวีดี (DVD Player)  เป็นเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีระบบดิจิทัลเพื่อเสนอทั้งภาพนิ่ง   ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ และเสียงเพื่อฉายภาพบนจอโทรทัศน์ในลักษณะเดียวกับแผ่นวีซีดี  แต่จะให้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่ามากรวมถึงคุณลักษณะอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายประการ
ข้อดีประการหนึ่งของเครื่องเล่นดีวีดี  คือ เครื่องเล่นดีวีดีสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นดีวีดี  แผ่นวิดีโอซีดี  แผ่นซีดีเพลง  และบางรุ่นสามารถเล่นแผ่น MP3 ได้ด้วย  ในขณะที่เครื่องเล่นอื่น ๆไม่สามารถเล่นแผ่นดีวีดีได้  ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องเล่นดีวีดีจะมีหัวอ่านแสงในลักษณะที่เป็นหัวเลนส์คู่  หรือหัวเลเซอร์คู่หรือหัวฮอโลแกรม  แล้วแต่รุ่นของเครื่อง  ซึ่งทำให้สามารถอ่านข้อมูลบนแผ่นดีวีดีและแผ่นซีดีได้

4.1   ข้อดีและข้อจำกัด

                             เครื่องเล่นดีวีดีมีข้อดีและข้อจำกัด  ดังนี้
                                4.1.1   ข้อดี
                                1) คุณภาพจองภาพบนแผ่นดีวีดีให้ความคมชัดมากโดยเฉพาะเมื่อเปรียบ  เทียบกับแถบวีดิทัศน์
                                2)   ให้เสียงดอลปีเซอร์ราวด์ช่วยให้การชมภาพยนตร์มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
                                3)   สามารถเลือกชมตอนใดของภาพยนตร์ก็ได้ ไม่ต้องเรียงตามเนื้อหา
                                4)   ไม่มีการยืดของแผ่นบันทึกเหมือนแถบเทป
                                5)   หากเกิดความสกปรกบน แผ่นสามารถทำความสะอาดได้โดยง่าย
                                6)   เครื่องเล่นสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดี  แผ่นวีซีดี และแผ่นดีวีดี
                4.1.2   ข้อจำกัด
                                                1) ผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นได้ด้วยตนเองเหมือนการบัน ทึกลงแถบวีดิทัศน์
                                2)   แผ่นดีวีดีคุณภาพดียังมีราคาสูงพอควร

เครื่องเสียง
            1.   แหล่งกำเนิดเสียง

                เสียง (Sound) เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นสะเทือนจะจัดอากาศให้เป็นคลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นสียง (Sound Wave) เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบแก้วหูก็จะทำให้แก้วหูสั่นสะเทือนรายงานผ่านไปยังสมอง ทำให้ได้ยินเสียง ตามปกติหูของคนเราจะได้ยินเสียงเมื่ออากาศสั่นสะเทือนด้วยความถี่ประมาณ 20 – 20,000 รอบต่อวินาที (เสียงพูดของคนจะมีความถี่ประมาณ 100 – 8,000 รอบต่อวินาที)
เสียงที่เราได้ยินอยู่ในชีวิตประจำวันมาจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ เช่น เสียงคน สัตว์ การสั่นสะเทือนของวัตถุเมื่อถูกดีด สี ตี เป่า เคาะ เสียงจากธรรมชาติทั่วไป เช่น ฝนตก น้ำไหล ฟ้าร้องลมพัด เป็นต้น เสียงเหล่านี้อาจเปล่งออกมาจากแหล่งกำเนิดโดยตรง หรืออาจถูกบันทึกไว้ในรูปของโสตวัสดุ เช่น เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง แผ่นดิสค์ แล้วนำมาขยายภายหลังก็ได้
 2.   ส่วนประกอบของการขยายเสียง

                 การขยายเสียงเป็นการแก้ไขข้อจำกัดของเสียงจากต้นกำเนิดเสียงที่ไปได้ไม่ไกล โดยใช้เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นเสียงไฟฟ้าความถี่ (Audio Frequency Current) แล้วขยายให้มีกำลังมากขึ้นหลาย ๆ เท่า หรือบันทึกเก็บไว้ เพื่อนำมาแปลงให้กลับเป็นคลื่นเสียงทีหลังอีกก็ได้ เครื่องมือที่ทำหน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า เครื่องเสียง (Audio Equipment) เช่น เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง และเครื่องเล่นเทป บันทึกเสียง เป็นต้น
                องค์ประกอบของการขยายเสียง  ที่สำคัญมี 3 ส่วนคือ
                ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal) ทำหน้าที่สร้างหรือนำสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ต้องการขยายมาป้อนกับภาคขยายเสียง ได้แก่ ไมโครโฟน
                ภาคขยายสียง (Amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เกิดเสียงดังขึ้น ได้แก่ เครื่องขยายเสียง
                ภาคสัญญาณออก (Output Signal) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ถูกขยายมาแล้วให้กลับเป็นคลื่นเสียง ได้แก่ ลำโพง

3.   ไมโครโฟน (Microphone)

  ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงโดยอาศัยหลักการง่าย ๆ คือ เมื่อคลื่นเสียงมากระทบ แผ่นสั่นสะเทือน (Diaphragm) ทำให้แผ่นสั่น สะเทือนสั่นตามความถี่และความแรงของคลื่นเสียง สัญญาณจากการสั่นสะเทือนจะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงทันที

       3.1   ประเภทของไมโครโฟน

               เราสามารถจำแนกของไมโครโฟนได้ 2 รูปแบบ คือ จำแนกตามลักษณะทิศทางของการรับเสียง  และจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำไมโครโฟน
3.1.1  จำแนกลักษณะทิศทางของการรับเสียงของไมโครโฟนมี 4 ชนิด คือ
1.   Omni directional  Microphine  เป็นไมโครโฟนที่รับเสียงได้รอบทิศทาง  (360 องศา)
2.   Unidirectional  Microphone  เป็นไมโครโฟนที่รับเสียงได้จากด้านหน้าเพียงทิศทางเดียว  โดยมุมรับเสียงไม่เกิน  180  องศา
3.  Cardioids Microphone เป็นไมโครโฟนที่รับเสียงด้านหน้าได้เป็นบริเวณรูปหัวใจ
4.  Bidirectional  Microphone  เป็นไมโครโฟนที่รับเสียงได้เฉพาะด้านหน้ากับด้านหลัง โดยมุมรับเสียงข้างละไม่เกิน  60  องศา
3.1.2   ไมโครโฟนจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำมี  6 ชนิด  คือ
                                1)   Carbon Microphone ใช้ผงถ่านเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีคุณภาพต่ำ ความไวเสียงน้อย ปัจจุบันใช้กับเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น
                                2)   Crystal Microphone ใช้ผลึกของเกลือเป็นตัวเปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าไมโครโฟนชนิดนี้มีความไวน้อยไม่ทนทานต่อความร้อยและความชื้น
                                3)   Ceramic Microphone มีหลักการเดียวกับ Crystal Microphone แต่เปลี่ยนวัสดุเซอรามิคแทน ทำให้ทานต่อความร้อนและความได้ดีกว่า
                                4)   Condenser Microphone มีหลักการคือเมื่อแผ่น Diaphragm สั่นสะเทือน จะทำให้ค่าความจุเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสัญญาไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้มีความไวในการรับเสียงดีขนาดเล็ก และราคาไม่แพง จึงนิยมนำมาใช้ในเครื่องเสียงทั่ว ๆ ไป
                                5)   Ribbon Microphone ใช้แผ่นริบบิ้นอลูมิเนียมบาง ๆ เป็นตัวสร้างสัญญาณไฟฟ้าทำให้มีคุณภาพเสียงดีมาก แต่มีจุดอ่อนที่ค่อนข้างบอบบาง ไม่เหมาะสมสำหรับการเคลื่อนย้ายและมีราคาแพง จึงใช้ในห้องบันทึกเสียงใหญ่ ๆ เท่านั้น
                                6)   Dynamic Microphone ใช้ขดลวดเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กถาวร เพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำเหมือนการทำงานของลำโพง ไมโครโฟนชนิดนี้ในคุณภาพรับเสียงดี แข็งแรงทนทาน มีตั้งแต่ราคาถูกจนถึงราคาแพง จึงนิยมใช้กันทั่ว ๆ ไป

       3.2   อิมพีแดนซ์ (Impedance) ของไมโครโฟน

       อิมพีแดนซ์ หมายถึงความต้านทานที่เกิดขึ้นขณะมีสัญญาณหรือกระแสสลับไหลผ่านมีหน่วยเป็นโอห์ม  ค่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนมี 2 พวกคือ
                3.2.1  High Impedance เป็นค่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนชนิดผลึก และเซรามิคซึ่งเป็นพวกที่มีราคาถูก ตอบสนองต่อความถี่ไม่ดี ถ้าใช้สายยาวเกิน 25 ฟุตจะมีเสียงรบกวนหรือเสียงฮัมได้ง่าย
                3.2.2   Low Impedance เป็นค่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนทั่ว ๆ ไป สามารถใช้สายยาวได้นับร้อยฟุตโดยไม่มีเสียงฮัม ตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดี เหมาะที่จะใช้กับเครื่องขยายเสียงแบบทรานซิสเตอร์

       3.3   การใช้ไมโครโฟน

                การใช้ไมโครโฟนให้ได้ผลดีควรมีวิธีการดังนี้
                3.3.1   ควรพูดตรงด้านหน้าของไมโครโฟนให้ปากอยู่ห่างประมาณ 6- 12 นิ้ว
                3.3.2   การทดลองไมโครโฟนไม่ควรใช้วิธีเป่าหรือเคาะให้พูดออกไปได้เลย
                3.3.3   ควรจับไมโครโฟนให้มั่นคงและนิ่งไม่ควรแกว่งไปมาหรือปิดสาย
                3.3.4   เมื่อติดตั้งไมโครโฟนกับขาตั้ง ควรวางขาตั้งบนผ้าปูโต๊ะหรือวัสดุนุ่ม ๆ
                3.3.5   การใช้ไมโครโฟนในบริเวณที่มีลมพัดควรใช้ Wind Screen หรือผ้านุ่ม ๆ หุ้มรอบไมโครโฟน เพื่อลดเสียงลมให้น้อยลง
                3.3.6   ควรเลือกไมโครโฟนให้เหมาะกับงาน โดยพิจารณาทิศทางการรับเสียงความไวของไมโครโฟนและลักษณะการใช้งาน
                3.3.7   เลือกใช้ไมโครโฟนที่ค่า Impedance เหมาะกับเครื่องขยายเสียง ถ้าเป็นไมโครโฟนชนิด High Impedance ไม่ควรใช้สายยาวเพราะจะทำให้มีเสียงกวน
                3.3.8   อย่าให้ไมโครโฟนตกหรือกระทบกระแทก อย่าให้ถูกฝนและฝุ่น เมื่อใช้แล้วให้เช็ดทำความสะอาดและเก็บในกล่องให้มิดชิดทุกครั้ง

4.   เครื่องขยายเสียง  (Amplifier)

เครื่องขยายเสียงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา กำลังขยายของเครื่องขยายเสียง เรียกเป็น วัตต์ (Watts) เช่น 20 w. 30 w. 50 w. เป็นต้น

       4.1   การทำงานของเครื่องขยายเสียง      แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

                4.1.1 Pre-Amplifier and Tone Control เป็นส่วนที่รับสัญญาณจาก Input Signal จากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน เทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง ฯลฯ มาปรับแต่งความสมดุล เพื่อเตรียมการขยายให้มีกำลังมากขึ้น เครื่องขยายเสียงส่วนนี้จะมีช่องเสียงเพื่อนำสัญญาณเข้า (Input Terminal) ดังนี้
                Microphone (Mic.) อาจมีมากกว่า 1 ช่องก็ได้
                Phonograph (Phone) เป็นช่องนำสัญญาณจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง
                Tape เป็นช่องนำสัญญาณจากเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง
                Auxiliary (Aux.) เป็นช่องนำสัญญาณชนิดแรงจากภาครับวิทยุ     เครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง หรือแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ที่ช่องเสียบสัญญาณเข้า
                                นอกจากนี้โดยปกติด้านหน้าของเครื่องขยายเสียงจะมีปุ่มต่าง ๆไว้ควบคุมสัญญาณที่รับเข้ามาทางช่อง Input Signal ดังนี้
                                Selector or Function Switch สำหรับเลือกสัญญาณที่จะนำมาขยายมักจะมีในเครื่องขยายเสียงที่ทำช่องนำสัญญาณเข้าไว้เพียงช่องเดียว
                                Bass สำหรับปรับเสียงทุ้ม
                                Treble สำหรับปรับเสียงแหลม
                                Filter เป็นสวิทซ์กรองเสียง เพื่อตัดเสียงรบกวนทั้งความถี่สูง และความถี่ต่ำมาก
                                Loudness เป็นสวิทซ์เปิดชดเชยสำหรับเสียงสูงและเสียงต่ำ ขณะเปิดเครื่องเบา ๆ
                                4.1.2 Power Amplifier ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ปรับแต่งและขยายขั้นต้น จาก Pre-Amplifier แล้วให้มีกำลังขยายเพิ่มขึ้นเพื่อส่งไปยังลำโพง ในชุดนี้จะมีสวิทช์และปุ่มควบคุมด้านหน้าเครื่องดังนี้
                                Power Switch (ON/OFF) สำหรับปิด - เปิด
                                Volume สำหรับควบคุมความดังเบาของสัญญาณเข้าแต่ละช่อง
                                Master เป็นปุ่มใหญ่สำหรับควบคุมเสียงดังเบาของสัญญาณเข้าทั้งหมด

                       4.2   ชนิดของเครื่องขยายเสียง

                                 เครื่องขยายเสียงพอจำแนกได้ 4 ชนิด คือ
                                4.2.1   เครื่องขยายเสียงหลอด เป็นเครื่องขยายเสียงแบบแรกที่สร้างขึ้นมาใช้ในการขยายเสียงให้มีเสียงดังมาก ๆ มีข้อดีที่บำรุงรักษาง่าย ทนทาน เสียงไม่ผิดเพี้ยน แต่มีข้อเสียที่ขนาดใหญ่ กินไฟมาก ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย
                                4.2.2   เครื่องขยายเสียงทรานซิสเตอร์  เป็นเครื่องขยายเสียงที่พัฒนามาใช้ ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ขยายเสียงแทนหลอดสุญญากาศ ทำให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายสะดวก ข้อเสียคือไม่ทนทาน เสียงจะเพี้ยนเมื่อเครื่องร้อนมาก
                                4.2.3   เครื่องขยายเสียงแบบผสม  เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรผสมของหลอดสุญญากาศทำให้เหมาะสมกับการใช้งาน และทำให้มีคุณภาพดีขึ้น
                                4.2.4   เครื่องขยายเสียงแบบไฮบริดจ์ ไอ.ซี. เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรสำเร็จรูป (integrate circuit) ทำให้มีขนาดกะทัดรัด ดูแลรักษางาย แต่ค่อนข้างบอบบางกว่าแบบอื่น ๆ และมีกำลังขยายไม่มากนัก

                       4.3   ระบบของเครื่องขยายเสียง

                                 เครื่องขยายเสียงที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ระบบ คือ
                4.3.1   ระบบโมโน (Mono Sound System) เป็นเครื่องขยายเสียงเครื่องเดียวที่หน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าจากต้นกำเนิดเสียงหลาย ๆ ชนิดรวมกันแล้วส่งไปออกที่ลำโพงตัวเดียวการขยายเสียงในระบบนี้อาจทำให้เสียงหักลบกันจนขาดความไพเราะ หรือผิดเพี้ยนจากต้นเสียงเดิม ปัจจุบันระบบโมโนมีใช้ทั้งในเครื่องเสียงขนาดเล็ก เช่น เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ เครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงที่ใช้กับระบบเสียงสาธารณะ (Public Address System) ซึ่งเป็นเครื่องขยายเสียงที่มีกำลังขยายสูงนับร้อยวัตต์ เพื่อขยายเสียงให้ดังมาก ๆ
                4.3.2   ระบบสเตริโอ  (Stereo Phonic Sound System) เป็นระบบการขยายเสียงที่ใช้เครื่องขยายเสียงมากกว่าหนึ่งเครื่องไว้ในชุดเดียวกัน เพื่อรับสัญญาณไฟฟ้าจากต้นกำเนิดเสียงที่ต่างกันหลายๆ แห่ง เข้ามาขยายผ่านเครื่องขยายเสียงแต่ละเครื่องส่งออกลำโพงแยกจากกัน ทำให้ได้เสียงที่ไพเราะน่าฟังกว่าระบบโมโน เครื่องขยายเสียงระบบสเตริโอที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นแบบสเตริโอ 2 ทิศทาง คือมีเครื่องขยายเสียง 2 เครื่องอยู่ในชุดเดียวกันมีส่วนรับสัญญาณเข้าเป็นคู่ ๆ นำไปขยายในเครื่องชุดที่ 1 และชุดที่ 2 แล้วส่งออกลำโพงชุดละตู้

       4.4   การใช้เครื่องขยายเสียง

                 การใช้เครื่องขยายเสียงให้มีประสิทธิภาพ  ควรปฏิบัติดังนี้
                4.4.1   ตรวจให้แน่ชัดว่าใช้กับไฟชนิด AC หรือ DC กี่โวลต์
                4.4.2 ก่อนเปิดสวิทซ์ให้ต่อวงจร Input และ Output ให้ค่า Impedance พอดีไมโครโฟนและลำโพง แล้วลดปุ่มควบคุมความดังของเสียง (Volume) ให้ต่ำสุด
                4.4.3  ถ้าเป็นเครื่องชนิดหลอด ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่อง (Standby) 1 – 3 นาที ให้หลอดร้อนพอที่จะทำงานได้ก่อน และควรใช้พัดลมเป่าระบายความร้อนให้กับเครื่องด้วย
                4.4.4   เลือกสัญญาณ Input ให้เหมาะกับชนิดของแหล่งสัญญาณ
                4.4.5  กำลังการขยาย (Watts) ของลำโพงทุกตัวรวมกันต้องเท่าหรือใกล้เคียงกับกำลังของเครื่องขยายเสียง เช่น เครื่องขยายเสียง 50 w. ใช้กำลังลำโพงตัวละ 10 w. ได้ไม่เกิน5 ตัว
                4.4.6 ควบคุมความดังไม่ให้มากจนน่ารำคาญหรือเสียงแตกพร่า หรือเสียงเบาจนฟังไม่ชัดแล้วปรับแต่งเสียงทุ้มแหลมให้ได้คุณภาพเสียงดีที่สุด
                4.4.7 ควรต่อสายดินจากแท่นเครื่องลงดิน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และตัดสัญญาณรบกวนต่าง ๆ ให้น้อย

5.   ลำโพง (Speaker)

ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นเครื่องเสียงปัจจุบันนิยมใช้ลำโพงชนิดขดลวดแม่เหล็ก (Dynamic Speaker) ซึ่งทำงานโดยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า คือเมื่อสัญญาณไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเสียงของลำโพง (Voice Coils) จะทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กในขดลวด อำนาจแม่เหล็กจะตัดกับสนามแม่เหล็กถาวรที่ติดอยู่ในลำโพงทำให้ขดลวดเสียงเคลื่อนที่พาเอากรวยของลำโพงสั่นไปตามความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า บให้อากาศด้านหน้ากรวยสั่นสะเทือนเกิดเป็นเสียงขึ้น

       5.1   ประเภทของลำโพง

                 การจำแนกลำโพงตามคุณสมบัติในการเปล่งเสียงมี 4 ประเภท คือ
                5.1.1   ลำโพงเสียงทุ้ม (Woofer) เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงต่ำ ๆประมาณ 30 -500 Hz. มีขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางของกรวยลำโพง 10 นิ้วขึ้นไป กรวยลำโพงทำด้วยกระดาษ
                5.1.2   ลำโพงเสียงกลาง (Midrange) เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงปานกลางประมาณ 500 – 8,000 Hz. ลำโพงประเภทนี้มีใช้ทั่วไปในเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องเสียงมที่ไม่ต้องการคุณภาพนัก
                5.1.3   ลำโพงเสียงแหลม (Tweeter) เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงสูงประมาณ 10 – 20 KHz. มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางของกรวยลำโพง 3 – 4 นิ้ว กรวยลำโพงทำด้วยโลหะ
                5.1.4   ลำโพงกรวยซ้อน (Duplex Speaker) เป็นลำโพงที่ออกแบบพิเศษ โดยทำกรวยลำโพงซ้อนกัน 2 – 3 ชั้น เพื่อในสามารถเปล่งเสียงที่มีความถี่ต่าง ๆ กันได้มากขึ้นในลำโพงตัวเดียว

       5.2   การใช้ลำโพง
    
                 การใช้ลำโพงให้ดีให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานอยู่เสมอ  ควรวิธีดังนี้
                5.2.1   ต้องให้ค่า Impedance รวมของลำโพงเท่าหรือใกล้เคียงกับค่า Impedance ของช่องสัญญาณออก (Output)
                                5.2.2 ให้ค่ากำลังขยาย (Watts) ของลำโพงเท่าหรือใกล้เคียงกับกำลังของเครื่องขยายเสียง
                                5.2.3   อย่าลำโพงไว้ด้านหน้าของไมโครโฟน เพราะจะทำให้เกิดเสียงหวีดหอนได้
                                5.2.4   อย่าวางลำโพงให้สูงในระดับเดียวกับหูผู้ฟัง ถ้ามีลำโพงตัวเดียวควรวางตรงกลางด้านหลังห้อง ถ้ามี 2 ตัวให้แยกไว้คนละมุมห้อง
                                5.2.5   การต่อลำโพงหลายตัวต้องคำนวณหาค่า Impedance รวมของลำโพงทุกตัว เพื่อจะได้ต่อกับ Output ของเครื่องขยายเสียงได้ถูกต้อง
                                5.2.6    ต้องต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียงให้เรียบร้อยก่อนเปิดเครื่องทุกครั้ง
                                5.2.7   สายลำโพงสามารถใช้ไฟธรรมดาก็ได้ แต่ถ้าต้องใช้สายยาวควรเลือกเส้นที่ขนาดใหญ่เพื่อป้องกันการสูญเสียของสัญญาณ
                                5.2.8   อย่าให้ลำโพงตกหรือกระแทก


บทสรุป

                สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือโสตทัศนูปกรณ์มีหน้าที่หลักคือ  ฉายเนื้อหาที่เป็นภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น  และขยายเสียงให้ดังขึ้น   จำแนกออกเป็น  3  ประเภทได้แก่  เครื่องฉาย  เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ  และเครื่องเสียง
                เครื่องฉายที่ใช้ในวงการศึกษา  ปัจจุบันทีหลายชนิด  เช่น  เครื่องฉายข้ามศีรษะ   เครื่องฉายสไลด์   เครื่องฉายแอลซีดี   เครื่องฉายดีวีดี  เป็นต้น   ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องฉายได้แก่  หลอดฉาย   แผ่นสะท้อนแสง   วัสดุฉาย   เลนส์  และจอ
                เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณเป็นเครื่องที่ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยมันเอง  ต้องต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์เครื่องฉายหรือเครื่องขยายเสียง  เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์   เครื่องเล่นวีดิทัศน์   เครื่องเล่นวีซีดี  และเครื่องเล่นดีวีดี  เป็นต้น
                เครื่องเสียงมีหน้าที่รับเสียง   ขยายเสียง  และส่งออก   ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญประกอบด้วย  ภาคสัญญาณเข้าได้แก่ไมโครโฟน   ภาคขายายเสียงได้แก่เครื่องขยายเสียง  และภาคสัญญาณออกได้แก่ลำโพง


หนังสืออ้างอิง

กิดานันท์    มลิทอง. ( 2544 ). สื่อการสอนและฝึกอบรม  จากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิจิทัล.  กรุงเทพฯ
         อรุณการพิมพ์.
วิวรรธน์    จันทร์เทพย์.  ( 2542 ).  เทคโนโลยีการศึกษา. ฉบับเฉลิมพระเกียรติ.  ราชบุรี:  คณะ      
         ครุศาสตร์  สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามทบทวน

1. สื่ออุปกรณ์หมายถึงอะไร สามารถแบ่งตามหน้าที่การใช้งานได้กี่ประเภท

2. จงบอกความหมายของเครื่องฉาย เครื่องแปลงสัญญาณ และเครื่องเสียง

3. ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องฉายมีอะไรบ้าง

4. ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องฉายมีการทำงานอย่างไร

5. จงอธิบายลักษณะและการทำงานของอุปกรณ์ประเภทเครื่องฉายมา 2 เครื่อง

6. จงอธิบายลักษณะและการทำงานของอุปกรณ์ประเภทแปลงสัญญาณมา 2 เครื่อง

7. จงอธิบายแหล่งกำเนิดเสียง

8. จงบอกส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเสียง

9. ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเสียงมีการทำงานอย่างไร

10. จงอธิบายวิธีใช้เครื่องเสียง